วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การหาความยาวรอบรูปวงกลม

  ความยาวรอบรูปวงกลม
    การหาความยาวรอบรูป  ( เส้นรอบวง ) ของวงกลม

                    จากค่า p   ≈   22/7   ≈   3.14

                              p  =   เส้นรอบรูปวงกลม/เส้นผ่านศูนย์กลาง


      เส้นรอบรูปวงกลม       =   p  ×  เส้นผ่านศูนย์กลาง

                                   =   p  ×  2  ×  รัศมี
                     เมื่อรัศมีคือ  r

       เพราะฉะนั้น  เส้นรอบรูปของวงกลม =   2pr


             
ตัวอย่าง  วงกลมวงหนึ่ง มีรัศมียาว 7 เซนติเมตร จะมีความยาวของเส้นรอบวงเท่าไร
            
               รัศมีคือ  r  =  7

                              เส้นรอบรูปของวงกลม  =  2pr
                              เส้นรอบรูปของวงกลม  =  2 x 22/7 x 7
                              เส้นรอบรูปของวงกลม  =  44  เซนติเมตร
                  

  ตอบ     ๔๔   เซนติเมตร 



https://sites.google.com/site/suwatchaisites/reuxng-tawprakxb/kar-hakhwam-yaw-rx

การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม

การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม

                            การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม

      ความยาวรอบรูปสี่เหลี่ยม
      ความยาวรอบรูป คือ ผลบวกของความยาวด้านทุกด้านของรูปเหลี่ยม
             วิธีหาความยาวรอบรูปสี่เหลี่ยม
     รูปสี่เหลี่ยมโดยทั่วไปหาความยาวเส้นรอบรูปได้โดยวัดความยาวของด้าน
     ทุกด้านแล้วนำมาบวกกัน
     รูปสี่เหลี่ยมบางชนิดหาความยาวโดยใช้สูตรความยาวรอบรูปได้โดยวัดความ
     ยาวบางด้านแล้วนำมาคำนวนโดยใช้สูตรดังนี้
    สี่เหลี่ยมผืนผ้า, สี่เหลี่ยมด้านขนาน = 2 × ( กว้าง + ยาว )
    สี่เหลี่ยมจัตุรัส, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = 4 × ด้าน
                              
                              สูตรหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม
    สี่เหลี่ยมจัตุรัส
    สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน x ด้าน
 
 


 
     ตัวอย่าง หาพื้นที่ของสี่เหลี่ยม ABCD ซึ่งยาว 3 เซนติเมตร
     = ด้าน x ด้าน
     = 3 x 3
     = 9 ตารางเซนติเมตร
                                 สี่เหลี่ยมผืนผ้า
    สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = กว้าง x ยาว
 
 
 
 
 
     ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยม PQRS ซึ่งยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร
     = กว้าง x ยาว
     = 3 x 5
     = 15 ตารางเซนติเมตร
                                                   สี่เหลี่ยมด้านขนาน
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน = ฐาน x สูง หรือ
     = 1/2 x ความยาวเส้นทแยงมุม x ผลบวกเส้นกิ่ง
 
 
  ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนานซึ่งยาว 6 เซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร
     = ฐาน x สูง
     = 6 x 4
     = 24 ตารางเซนติเมตร
    หรือ หาพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านขนานมีเส้นทแยงมุมยาว 12 เซนติเมตรและความยาวเส้น
     กิ่งยาว 2 เซนติเมตรและ 2 เซนติเมตร
     = 1/2x ความยาวเส้นทแยงมุม x ผลบวกเส้นกิ่ง
     = 1/2x 12 x ( 2+2 )
     = 24 ตารางเซนติเมตร
                                       สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน = ฐาน x สูง หรือ
     = 1/2x ผลคูณของเส้นทแยงมุม
 
 
 
 
     ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซึ่งยาวด้านละ 5 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร
     = ฐาน x สูง
     = 5 x 3
     = 15 ตารางเซนติเมตร
    หรือ หาพื้นที่สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซึ่งมีเส้นทแยงมุมยาว 5 เซนติเมตรและ 6 เซนติเมตร
     = 1/2x ผลคูณของเส้นทแยงมุม
     =1/2 x 5 x 6
     = 15 ตารางเซนติเมตร
                                           สี่เหลี่ยมรูปว่าว
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว =1/2 x ผลคูณของเส้นทแยงมุม
 
 
 
 

     ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมรูปว่าว ซึ่งมีเส้นทแยงมุมยาว 4 และ 6 เซนติเมตร
     = 1/2x ผลคูณของเส้นทแยงมุม
     =1/2 x 4 x 6
     = 12 ตารางเซนติเมตร
                                       สี่เหลี่ยมคางหมู
     
สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
     = 1/2x สูง x ผลบวกของความยาวของด้านคู่ขนาน

 
 
 
 
     ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมูมีด้านคู่ขนานยาว 4 และ 5 เซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร
     =1/2 x สูง x ผลบวกของความยาวของด้านคู่ขนาน
     = 1/2x 4 x (4 + 5)
     = 18 ตารางเซนติเมตร
                                        สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า
     สูตร การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า
     = 1/2x ความยาวของเส้นทแยงมุม x ผลบวกความยาวเส้นกิ่ง
 
 
 
       ตัวอย่าง หาพื้นที่สี่เหลี่ยมด้านไม่เท่าซึ่งมีเส้นทแยงมุมยาว 12 เซนติเมตร เส้นกิ่ง
      ยาว 3 เซนติเมตรและ 4 เซนติเมตร
      = 1/2x ความยาวของเส้นทแยงมุม x ผลบวกความยาวเส้นกิ่ง
      = 1/2x 12 x ( 3+4 )
      = 42 ตารางเซนติเมตร
http://sakon-phangkaew.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
รูปสามเหลี่ยม (อังกฤษ: triangle) เป็นหนึ่งในรูปร่างพื้นฐานในเรขาคณิต คือรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมี 3 มุมหรือจุดยอด และมี 3 ด้านหรือขอบที่เป็นส่วนของเส้นตรง รูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอด A, B, และ C เขียนแทนด้วย Trianglen.svgABC
ในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุด 3 จุดใดๆ ที่ไม่อยู่ในเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมได้เพียงรูปเดียว และเป็นรูปที่อยู่บนระนาบเดียว (เช่นระนาบสองมิติ)

ประเภทของรูปสามเหลี่ยม

แบ่งตามความยาวของด้าน

  • รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (equilateral) มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นรูปหลายเหลี่ยมมุมเท่า นั่นคือมุมภายในทุกมุมจะมีขนาดเท่ากัน คือ 60° และเป็นรูปหลายเหลี่ยมปกติ [1]
  • รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (isosceles) มีด้านสองด้านยาวเท่ากัน (ตามความหมายเริ่มแรกโดยยุคลิด ถึงแม้ว่ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจะสามารถจัดว่าเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วได้ด้วย เพราะมีด้านที่ยาวเท่ากันอย่างน้อยสองด้าน) และมีมุมสองมุมขนาดเท่ากัน คือมุมที่ไม่ได้ประกอบด้วยด้านที่เท่ากันทั้งสอง [2]
  • รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า (scalene) ด้านทุกด้านจะมีความยาวแตกต่างกัน มุมภายในก็มีขนาดแตกต่างกันด้วย [3]
 



       
                    
                                                                
            
สามเหลี่ยมด้านเท่า
รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า

แบ่งตามมุมภายใน

  • รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (right, right-angled, rectangled) มีมุมภายในมุมหนึ่งมีขนาด 90° (มุมฉาก) ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉากเรียกว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก ซึ่งเป็นด้านที่ยาวที่สุดในรูปสามเหลี่ยม อีกสองด้านเรียกว่า ด้านประกอบมุมฉาก ความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากสัมพันธ์กันตามทฤษฎีบทพีทาโกรัส นั่นคือกำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก c จะเท่ากับผลบวกของกำลังสองของด้านประกอบมุมฉาก a, b เขียนอย่างย่อเป็น  ดูเพิ่มเติมที่ รูปสามเหลี่ยมมุมฉากพิเศษ
  • รูปสามเหลี่ยมมุมเฉียง (oblique) ไม่มีมุมใดเป็นมุมฉาก ซึ่งอาจหมายถึงรูปสามเหลี่ยมมุมป้านหรือรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม
  • รูปสามเหลี่ยมมุมป้าน (obtuse) มีมุมภายในมุมหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 90° (มุมป้าน)
  • รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม (acute) มุมภายในทุกมุมมีขนาดเล็กกว่า 90° (มุมแหลม) รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม แต่รูปสามเหลี่ยมมุมแหลมทุกรูปไม่ได้เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
 
 
 
                  
 
 


 
รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
รูปสามเหลี่ยมมุมป้าน
รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม

รูปสามเหลี่ยมมุมเฉียง (ไม่มีมุมฉาก)


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1

พาราโบรา

พาราโบลา

นิยาม
พาราโบลา (Parabola) คือ เซตของจุดทุกจุดบนระนาบ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นตรงคงที่เส้นหนึ่ง และจุคงที่จุดหนึ่งนอกเส้นตรงนั้นเป็นระยะทางเท่ากันเสมอ


เส้นตรงคงที่ เรียกว่า เส้นไดเรกตริกซ (Directrix)
จุดคงที่ดังกล่าว เรียกว่า จุดโฟกัส (Focus)
เส้นตรงที่ผ่านโฟกัสและตั้งฉากกับไดเรกตริกซ์ เรียกว่า แกน (Axis) ของพาราโบลา
จุดที่พาราโบลาตัดกับแกนของพาราโบลา เรียกว่า จุดยอด (Vertex)
พาราโบลาที่มีแกนสมมาตรขนานกับแกน X

สมการ (y - k) 2 = 4 c (x - h)
จุดยอด (h, k)
จุดโฟกัส (h + c, k)
ไดเรกตริกซ์ x = h - c
แกนสมมาตร y = k
พาราโบลาที่มีแกนสมมาตรขนานกับแกน Y

สมการ (x - h) 2 = 4 c (y - k)
จุดยอด (h, k)
จุดโฟกัส (h, k + c)
ไดเรกตริกซ์ y = k - c
แกนสมมาตร x = h


http://www.maths.sci.ku.ac.th/research/product/seminar/ma32/41040015/Parabola/Parastart.html

รูปทรงเรขาคณิต

รูปทรงเรขาคณิต

รูปเรขาคณิตสองมิติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูป ได้แก่ กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง กลุ่มนี้คือ รูปหลายเหลี่ยม ( polygon ) และกลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ เช่น รูปวงกลม และรูปวงรี เป็นต้น กลุ่มนี้ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ

เป้าหมายสำคัญของการเรียนรู้เรขาคณิต เพื่อฝึกทักษะในด้านมิติสัมพันธ์ หรือความรู้สึกเชิงปริภูมิ (spatial sense ) ฝึกการให้เหตุผลแบบต่างๆ นำแนวคิดทางเรขาคณิตไปใช้ในชีวิตจริง และเป็นพื้นฐานในการ เชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับความรู้ในสาขาอื่น
กิจกรรมการเรียนรู้แนวคิดทางเรขาคณิต จะเริ่มจากการทำความเข้าใจรูป ( recognizing ) การบอกลักษณะของรูป ( describing ) และการจำแนกรูป ( classifying ) รวมถึงศึกษาสมบัติและความสัมพันธ์ของรูปนั้นๆ จากนั้นเป็นการใช้สมบัติและความสัมพันธ์ของรูปประกอบกับหลักของการให้เหตุผลไปประยุกต์สู่การแก้ปัญหาทั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์และปัญหาอื่นๆ
กิจกรรมการเรียนรู้เรขาคณิตในระดับประถมศึกษาจะเริ่มด้วยการให้ผู้เรียนได้ศึกษา รูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ สมบัติและความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตเหล่านั้น โดยเริ่มจากการฝึกให้ผู้เรียนได้สังเกต สำรวจ ค้นหาข้อมูลที่กำหนดแล้วคาดเดาคำตอบหรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาประมวลเป็นข้อสรุปโดยใช้ความรู้ที่มีอยู่เพื่อตรวจสอบหรือยืนยันข้อคาดเดานั้นว่าเป็นดังที่คาดไว้หรือไม่ หรือสรุปได้เป็นอย่างอื่นที่ต่างไปจากข้อคาดเดาเดิม จากกิจกรรมข้างต้นจะพบว่าผู้เรียนได้แสดงเหตุผลเพื่อนำไปสู่การสรุปข้อคาดเดานั้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด ( concept ) ทางเรขาคณิต อันจะนำไปสู่เป้าหมาย ปลายทางที่สำคัญของการเรียนเรขาคณิต คือได้เห็นโครงสร้างของระบบ และเข้าใจระบบการให้เหตุผลและการพิสูจน์ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาคณิตศาสตร์
 
 
 


 
 
 
 
http://pukbungzaza.blogspot.com/

เลขยกกำลัง

การยกกำลัง คือการดำเนินการทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง เขียนอยู่ในรูป an ซึ่งประกอบด้วยสองจำนวนคือ ฐาน a และ เลขชี้กำลัง (หรือ กำลัง) n การยกกำลังมีความหมายเหมือนการคูณซ้ำ ๆ กัน คือ a คูณกันเป็นจำนวน n ตัว เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก
a^n = \underbrace{a \times \cdots \times a}_n
คล้ายกับการคูณซึ่งมีความหมายเหมือนการบวกซ้ำ ๆ กัน
a \times n = \underbrace{a + \cdots + a}_n
โดยปกติเลขชี้กำลังจะแสดงเป็นตัวยกอยู่ด้านขวาของฐาน จำนวน an อ่านว่า a ยกกำลัง n หรือเพียงแค่ a กำลัง n ในภาษาอังกฤษอาจเรียกการยกกำลังบางตัวต่างออกไปเช่น a2 จะเรียกว่า square และ a3 เรียกว่า cube เป็นต้น เมื่อตัวยกไม่สามารถใช้ได้เช่นในข้อความแอสกี ก็มีรูปแบบการเขียนอย่างอื่นที่ใช้กันอาทิ a^n และ a**n เป็นต้น
เลขยกกำลัง an อาจนิยามให้ n เป็นจำนวนเต็มลบก็ได้เมื่อค่า a ไม่เป็นศูนย์ ตามปกติไม่สามารถกระจายจำนวนจริง a กับ n ได้ทุก ๆ ค่าโดยธรรมชาติ แต่เมื่อฐาน a เป็นจำนวนจริงบวก จำนวน an สามารถนิยามเลขชี้กำลัง n ได้ทุกค่าแม้แต่จำนวนเชิงซ้อนผ่านฟังก์ชันเลขชี้กำลัง ez ฟังก์ชันตรีโกณมิติก็สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของการยกกำลังได้
การยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นเมทริกซ์ใช้สำหรับการหาคำตอบของระบบสมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้น
การยกกำลังก็ใช้งานในความรู้สาขาอื่นอย่างแพร่หลายเช่นเศรษฐศาสตร์ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในการใช้งานคำนวณอย่างเช่นดอกเบี้ยทบต้น การเพิ่มประชากร จลนพลศาสตร์เคมี พฤติกรรมของคลื่น และการเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร เป็นต้น
      

เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม

การดำเนินการยกกำลังด้วยเลขชี้กำลังที่เป็นจำนวนเต็ม เป็นข้อกำหนดที่จำเป็นของพีชคณิตมูลฐานเท่านั้น

เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

นิพจน์ a2 = a·a เรียกว่า square หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ดูเพิ่มที่การยกกำลังสอง) เพราะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาวด้านละ a หน่วย มีพื้นที่เท่ากับ a2 ตารางหน่วย
นิพจน์ a3 = a·a·a เรียกว่า cube หมายถึงทรงลูกบาศก์ (ดูเพิ่มที่การยกกำลังสาม) เพราะทรงลูกบาศก์ที่มีด้านยาวด้านละ a หน่วย มีปริมาตรเท่ากับ a3 ลูกบาศก์หน่วย
เลขชี้กำลังเป็นตัวบ่งบอกว่าจะนำฐานมาคูณกันกี่ตัว (ไม่ใช่คูณกันกี่ครั้ง) ตัวอย่างเช่น 35 = 3·3·3·3·3 = 243 ดังนี้ฐาน 3 ปรากฏ 5 ครั้งในการคูณเพราะเลขชี้กำลังเป็น 5; ค่า 243 เป็น กำลัง ของ 3 คือผลลัพธ์ที่ได้จาก 3 ยกกำลัง 5
การยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก อาจนิยามได้จากความสัมพันธ์เวียนเกิด an+1 = a·an โดยให้เงื่อนไขเริ่มต้นเป็น a1 = a

เลขชี้กำลังเป็น 0 หรือ 1

เนื่องจาก a1 หมายถึงผลคูณของ a เพียง 1 ตัว ซึ่งถูกนิยามให้มีค่าเท่ากับ a
จากความสัมพันธ์เวียนเกิดอีกรูปแบบหนึ่ง an − 1 = an/a เมื่อสมมติให้ n = 1 จะได้ a0 = 1
หรือกล่าวอีกทางหนึ่งว่า กำหนดให้ n, m, และ nm เป็นจำนวนเต็มบวก (โดยที่ a ไม่เท่ากับศูนย์) จะได้ความสัมพันธ์
 \frac{a^n}{a^m} = a^{n - m}
ในกรณีที่ n และ m มีค่าเท่ากัน
เนื่องจากตัวเศษและตัวส่วนมีค่าเท่ากัน ดังนั้นจึงสามารถนิยามค่าของ a0 = 1 นำไปสู่กฎสองประการ
  • จำนวนใด ๆ ยกกำลัง 1 จะได้ตัวมันเอง
  • จำนวนใด ๆ ที่ไม่เป็นศูนย์ ยกกำลัง 0 จะได้ 1 ซึ่งเป็นการตีความมาจากผลคูณว่าง สำหรับกรณี 00 ดูเพิ่มที่หัวข้อ 0 ยกกำลัง 0

ความหมายทางคณิตศาสตร์เชิงการจัด

สำหรับ n และ m ที่เป็นจำนวนเต็มไม่เป็นลบ (จำนวนเต็มบวกรวมทั้งศูนย์) เลขยกกำลัง nm จะหมายถึงภาวะเชิงการนับ (cardinality) ของเซตของ m สิ่งอันดับ (m-tuple) ที่ได้จากเซตที่มีสมาชิก n ตัว หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ เป็นจำนวนของคำที่มีตัวอักษร m ตัว จากชุดตัวอักษร n ตัว
05 = │ {} │ = 0ไม่มีห้าสิ่งอันดับ จากเซตว่าง
14 = │ { (1, 1, 1, 1) } │ = 1มีสี่สิ่งอันดับ 1 ชุด จากเซตที่มีสมาชิก 1 ตัว
23 = │ { (1, 1, 1), (1, 1, 2), (1, 2, 1), (1, 2, 2), (2, 1, 1), (2, 1, 2), (2, 2, 1), (2, 2, 2) } │ = 8  มีสามสิ่งอันดับ 8 ชุด จากเซตที่มีสมาชิก 2 ตัว
32 = │ { (1, 1), (1, 2), (1, 3), (2, 1), (2, 2), (2, 3), (3, 1), (3, 2), (3, 3) } │ = 9มีสองสิ่งอันดับ (คู่อันดับ) 9 ชุด จากเซตที่มีสมาชิก 3 ตัว
41 = │ { (1), (2), (3), (4) } │ = 4มีหนึ่งสิ่งอันดับ 4 ชุด จากเซตที่มีสมาชิก 4 ตัว
50 = │ { () } │ = 1มีศูนย์สิ่งอันดับ 1 ชุด จากเซตที่มีสมาชิก 5 ตัว

ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อการยกกำลังบนเซต

เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มลบ

จากนิยาม จำนวนใด ๆ ที่ไม่เป็นศูนย์ เมื่อยกกำลังด้วย −1 จะทำให้เกิดส่วนกลับหรือตัวผกผันการคูณ
จึงสามารถนิยามว่า
a^{-n} = (a^n) ^{-1} = \frac{1}{a^n}
เมื่อ a เป็นจำนวนใด ๆ ที่ไม่เป็นศูนย์และ n เป็นจำนวนเต็มบวก แต่สำหรับจำนวน 0 ยกกำลังจำนวนลบ จะทำให้เกิดกรณีการหารด้วยศูนย์ จึงไม่มีการนิยาม
นิยามของ an สำหรับค่า a ใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ ทำให้เอกลักษณ์ aman = am+n เป็นจริงบนทุกช่วงจำนวนเต็มของ m กับ n (ทั้งบวก ลบ และศูนย์) จากเดิมเป็นจริงเฉพาะเมื่อ m กับ n เป็นจำนวนเต็มไม่เป็นลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เอกลักษณ์นี้โดยกำหนดให้ m = −n จะทำให้
a^{-n} \, a^{n} = a^{-n\, +\, n} = a^0 = 1
เมื่อ a0 ได้นิยามเช่นนั้นแล้ว เป็นเหตุให้นำไปสู่การนิยาม an = 1/an ดังที่ได้กล่าวแล้ว
การยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มลบ อาจสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของการหารซ้ำ ๆ จาก 1 ด้วยฐานก็ได้

เอกลักษณ์และสมบัติ

เอกลักษณ์สำคัญที่สุดของการยกกำลังที่สอดคล้องกับกรณีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มคือ
a^{m + n} = a^m \cdot a^n
ในขณะที่การบวกและการคูณมีสมบัติการสลับที่ เช่น 2+3 = 5 = 3+2 และ 2·3 = 6 = 3·2 แต่การยกกำลังไม่มีสมบัติการสลับที่ เช่น 23 = 8 แต่ 32 = 9
และเช่นเดียวกัน ในขณะที่การบวกและการคูณมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ เช่น (2+3) +4 = 9 = 2+ (3+4) และ (2·3) ·4 = 24 = 2· (3·4) แต่การยกกำลังไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ ตัวอย่างเช่น "23 ยกกำลัง 4" จะได้ผลลัพธ์เป็น 84 หรือเท่ากับ 4,096 แต่ "2 ยกกำลัง 34" จะได้ผลลัพธ์เป็น 281 หรือ 2,417,851,639,229,258,349,412,352 ถ้าหากเขียนเลขยกกำลังซ้อนกันโดยไม่ใส่วงเล็บ ลำดับของการคำนวณจะทำจากตัวบนสุดมาก่อน นั่นคือ
a^{b^c} = a^{ (b^c)} \ne (a^b) ^c

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การบวกลบเศษส่วน

การบวกและการลบเศษส่วน ไม่เหมือนการบวกลบในตัวเลขจำนวนเต็ม สำหรับเลขจำนวนเต็ม สามารถบวกลบกันได้เลย แต่การบวกและการลบแบบเศษส่วน จะต้องทำให้ส่วนเท่ากันเสียก่อน จึงจะสามารถบวกลบกันได้ มาดูวิธีการบวกลบเศษส่วนที่ถูกต้องกันเลยครับ
การบวกลบเศษส่วน ของจำนวน 2 จำนวนที่มีส่วนเท่ากัน ให้นำเศษมาบวกกัน ตัวเลขที่เป็นส่วน คงไว้เท่าเดิม (เศษ หมายถึงตัวเลขข้างบน ส่วน หมายถึงตัวเลขข้างล่าง ) ดังนั้น เอาเฉพาะตัวเลขข้างบนบวกลบกัน ตัวเลขข้างล่าง คงไว้เท่าเดิม เช่น
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน

การบวกลบเศษส่วน ที่มีส่วนไม่เท่ากัน หรือ ตัวเลขที่อยู่ข้างล่างไม่เท่ากัน ต้องทำให้ส่วนเท่ากันเสียก่อน จึงจะสามารถบวกลบกันได้ วิธีทำให้ส่วนเท่ากัน เพื่อที่จะทำให้สามารถบวกลบกันได้ ทำอย่างไร ไปดูกันเลย
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน

ลองเอาตัวอย่างการบวกลบเศษส่วน ต่อไปนี้ไปลองทำดู นะครับ ว่าน้องๆ จะเข้าใจ และทำได้ไหม
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน
เฉลยคำตอบ ตัวอย่างข้อสอบการบวกลบเศษส่วน
ข้อ 1 .
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน

ข้อ 2.
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน

ข้อ 3.
การบวกลบเศษส่วน
การบวกลบเศษส่วน

หวังว่าน้องๆ คงจะเข้าใจ และได้ประโยชน์ การวิธีการที่พี่ได้สอนไปนะคะ ยังไง ก็อย่าลืมเอาไปฝึกฝนดู ถ้าจะให้ดีที่สุด จะต้องตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังเวลาที่ครูสอน แล้วกลับมาทบทวนคะ
http://blog.janthai.com